วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วิชาการเงินส่วนบุคล (2001-0006)

วิชาการเงินส่วนบุคล (2001-0006)


จุดประสงค์รายวิชา           
    1.มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินส่วนบุคคล บทบาทหน้าที่ของเงินในการตัดสินใจใช้ทางเลือกต่าง ๆ ในชีวิต
                2.มีความสามารถบริหารและจัดการการเงินส่วนบุคคล  จัดสรรทรัพยากรได้เหมาะสมรวมทั้งวิเคราะห์กลั่นกรองจัดลำดับความสำคัญ
                        3.มีความรับผิดชอบทางการเงิน

มาตรฐานรายวิชา
                        1.เข้าใจหลักการเงินส่วนบุคคล
                        2.จัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
                        3.บริหารและจัดการการเงินส่วนบุคคล
                    4.เข้าใจหลักการลงทุนในทรัพย์  ลงทุนทำธุรกิจ  ลงทุนในหลักทรัพย์และกองทุนประเภทต่าง ๆ

คำอธิบายรายวิชา
              ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล  การรู้จักหาเงิน  ออมเงินและใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนทางเลือกในการลงทุนประเภทต่าง ๆ และผลประโยชน์ทางภาษี

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล
สาระสำคัญ   
1.ความหมายของเงิน
เงิน คือ สิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการชำระสินค้าหรือการปลดเปลื้องพันธะทางธุรกิจ (โรเบิร์ตสัน)
                เงิน เป็นเครื่องมือซึ่งทุกคนเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดหนึ่งกับสินค้าชนิดอื่น (ฮูม)
                เงิน คือ สิ่งที่สังคมยอมรับเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงใช้ในการชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคต
2. หน้าที่ของเงิน
-   เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำหน้าที่อำนวยความสะอวดในการซื้อขายและบริการ
-   เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า มีการกำหนดหน่วยเพื่อจัดมูลค่าของสินค้าและบริการ
-   เงินเป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต เป็นการกำหนดตามมาตรฐานตามสัญญาในการยอมรับสำหรับการชำระหนี้ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
-   เงินเป็นเครื่องมือรักษามูลค่า เงินจัดเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าที่จะถูกเก็บรักษาเอาไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคต เพราะเงินเป็นเครื่องรักษามูลค่าทรัพย์สินให้คงที่
-   เงินเป็นสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายในประเทศนั้นๆ ให้เงินที่ผลิออกมาสามารถชำระหนี้ระหว่างกันได้
-   เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า ทำหน้าที่ในการโอนหนี้หรือโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลอื่นหรือสถานที่อื่นๆ ได้โดยสะดวก
 3.   พัฒนาการของเงิน
-   เงินเป็นสิ่งของหรือสินค้าเป็นที่ยอมรับในแต่ละสังคมมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
-   เงินกษาปณ์ การประดิษฐ์สิ่งที่เป็นโลหะที่มีค่าต่างๆ
-   เงินกระดาษ เป็นรูปแบบของใบสัญญาจากการฝากของหรือที่เราเรียกว่า ใบรับฝากโลหะ
-   เงินเครดิต สิ่งที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับเงินสด หรือเงินเชื่อ ซึ่งได้ถูกกำหนดให้มีการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เงินเครดิต มีค่าทางเป็นเงินมากกว่าค่าของสิ่งที่ใช้ทำเงินนั้นขึ้นมา
4.   บทบาทของเงิน
-ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
- เป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรและกระจายเงินทุนไปยังหน่วยเศรษฐกิจ
- เป็นเครื่องมือในการสะสมความมั่งคั่งทำให้เกิดการกระจายรายได้ของประชาชน
5.   ความสำคัญของเงินที่มีต่อบุคคล
1. ด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค = เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
                2. ด้านความเจริญทางเศรษฐกิจของตน = การเพิ่มขึ้นของรายได้
                3. ด้านการออม = การเก็บเงินจากส่วนที่เหลือใช้จ่ายจากรายได้ของตน
                4. ด้านการตัดสินใจลงทุน = เกิดผลตอบแทนคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไป
                5. ด้านการวางแผนทางการเงิน = การออมเงินและการลงทุน


หน่วยที่ 2 การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

หน่วยที่ 2 การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
สาระสำคัญ
ความหมายของการวางแผนทางการเงิน
              การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการสร้าง ใช้งาน ปรับปรุง และแก้ไข แผนงานเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายการเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ โดยแนวคิดของแผนเน้นถึง เป้าหมาย นับตั้งแต่จุดแรกเริ่มของการวางแผนการลงทุน มากกว่าการใช้เครื่องมือทางการเงินแบบใดแบบหนึ่ง หรือมากกว่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการเงินบางปัญหาเท่านั้น
ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
                -   ทำให้มีความรอบคอบในการใช้เงิน
                -   รู้จักใช้จ่ายเงิน
                -   เกิดการบริหารทางการเงิน
                -   ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายฟุ่มเฟือย
                -   มีหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน
                -   ทำให้ระบบเศรษฐกิจมั่นคง
ในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
                -   การหารายได้
                -   การใช้จ่ายหรือรายจ่าย
                -   การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
                -   การออม
การจัดทำงบประมาณการเงิน
               "การประมาณการรายได้ และการประมาณการใช้จ่ายเงินเพื่อให้สนองตามความต้องการและบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" ผู้บริโภคจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาในการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายบ่อยครั้งที่พบว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย เครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยให้การใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคอยู่ภายในขอบเขตของรายได้ คือ การจัดทำงบประมาณการเงิน ซึ่งผู้บริโภคจะต้องประมาณการรายได้ และรายจ่ายโดยคิดคำนวณออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งอาจทำงบประมาณเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีก็ได้งบประมาณการเงินของผู้บริโภคแต่ละคนย่อมแตกต่างกันตามอาชีพ รายได้ และความต้องการของแต่ละคน
ประโยชน์ของการทำงบประมาณการเงิน
             การจัดทำงบประมาณการเงินของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์หลักในการทำให้ผู้บริโภคครองชีพในชีวิตประจำวันอยู่ได้ภายในวงเงินรายได้ของตน ไม่เป็นหนี้เป็นสินใครและอีกทั้งยังมีเงินออมไว้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วการทำงบประมาณยังมีประโยชน์อีกหลายประมาณ กล่าวคือ
               1.  ช่วยให้สามารถจัดลำดับความต้องการในการซื้อสินค้าได้ เช่น ในขณะนี้เราคิดไว้ว่า ถ้าเรามีรายได้เพิ่มขึ้นสิ่งที่เราต้องการมาก คือ โทรทัศน์สี เสตอริโอ รถจักรยานยนต์ ตามลำดับและเมื่อเรามีเงินเราก็จะตัดสินใจจัดสรรเงินเพื่อซื้อโทรทัศน์สี ก่อนสิ่งอื่นถ้ามีเงินเหลือจึงค่อยซื้อ เสตอริโอ รถจักรยานยนต์ ตามลำดับ
                2.  ช่วยให้มีการจัดระเบียบตัวเอง และฝึกนิสัยในการใช้จ่ายเงิน
                3. ช่วยให้มีความระมัดระวังรอบคอบในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพราะผู้บริโภคจะต้องพยายามใช้จ่ายเงินตามรายการในประมาณ
              4.   ช่วยทำให้ตระหนักในค่าของเงินมากขึ้นโดยผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบการเงินของตน อยู่เสมอว่าใช้จ่ายเงินไปเท่าใดแล้ว
              5. ช่วยให้เกิดความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจในอนาคตได้เพราะการทำงบประมาณการเงินจะทำให้ผู้บริโภคใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพมีเงินเหลือเก็บออมไว้ซึ่งจะทำให้ครอบครัวมีหลักประกันในอนาคตมีความสุขในการดำรงชีพ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
                การวางแผนใช้จ่ายเงินเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวล่วงหน้าของผู้บริโภคสำหรับการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เพียงพอกับรายได้ และป้องกันมิให้เกิดปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายพร้อมกันนั้น จะต้องมีเงินออมไว้สำหรับใช้จ่ายในอนาคตด้วย
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภค
                การวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดในการซื้อสินค้า และบริการของผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคควรมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นก่อนตัดสินซื้อ ในขั้นนี้ผู้บริโภคเริ่มมีความสนในใจสินค้าซึ่งผู้บริโภคควรจะตั้งคำถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้
            1.1มีความจำเป็นหรือไม่?
            1.2ของเดิมที่มีอยู่ใช้การได้หรือไม่?
            1.3มีเงินพอซื้อหรือไม่?
2.ขั้นตัดสินใจซื้อ เมื่อผู้บริโภคได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ในขั้นก่อนตัดสินใจซื้อมาแล้ว และกำลังตัดสินใจซื้อในขั้นนี้ผู้บริโภคควรถามตัวเองเรื่องดังนี้
             2.1ได้รับประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่?
             2.2 ควรซื้อเงินสดหรือเงินผ่อน
3.ชั้นเลือกซื้อ หลังจากที่ผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อสินค้าแน่นอนแล้ว ผู้บริโภคก็จะต้องตัดสินใจเรื่องต่อไปนี้
         3.1ซื้อยี่ห้อใด?ของบริษัทใด?
         3.2ซื้อเมื่อใด?
         3.3ซื้อที่ไหน? (จากบริษัทใหญ่ หรือจากตัวแทนจำหน่าย)
         3.4 ซื้อเงินสดหรือเงินผ่อน

หน่วยที่ 3 การออม

                                                                           หน่วยที่ 3 การออม
สาระสำคัญ
                บุคคลเมื่อมีรายได้เพิ่ม  หรือมีการใช้จ่ายเงินน้อยลง  เพื่อต้องการเก็บเงินที่เหลือไว้เป็นเงินออมสำหรับใช้ในอนาคต  แต่ถ้าการออมนั้นยังไม่ได้นำออกไปใช้จ่ายก็อาจจะนำไปแสวงหาผลประโยชน์ให้เกิดรายได้งอกเงยขึ้น  ดังนั้นการออมที่ดีจึงเป็นการลงทุนที่ดีด้วยการออมที่นิยมได้แก่ การฝากธนาคาร  การนำเงินไปซื้อตราสารการเงินเพราะเกิดความปลอดภัยและยังได้รับดอกเบี้ยหรือผลกำไรเป็นผลตอบแทน       
ความหมายของการออม
                เงินออม หมายถึง ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ หรือที่กันเอาไว้ไม่นำมาใช้จ่ายในการบริโภคและอุปโภคในปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในอนาคต เช่น ในยามป่วยไข้ เมื่อแก่ชราหรือลงทุน เป็นต้น ถ้าเก็บไว้กับตัวเองเฉย ๆ เช่น ใส่ตุ้มฝังดินไว้ หรือเก็บใส่ตู้นิรภัยไว้ เงินจำนวนนี้จะไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจนกว่าจะได้มีการนำมาใช้จ่ายเกิดขึ้น การเกิดเงินในลักษณะนี้เรียกว่า "Hoarding" เงินออมไม่จำเป็นต้องถูกเก็บไว้เฉย ๆ ในรูป Hoarding เสมอไป เพราะนอกจากจะไม่ให้ประโยชน์งอกเงยแล้วยังอาจจะขาดทุนอีกด้วย ในภาวะเงินเฟ้อ เงินที่เก็บอยู่เฉย ๆ จะมีค่าลดน้อยลงไปทุกที เมื่อราคาของสินค้าและบริการสูงอยู่ตลอดเวลา อำนวยของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ เป็นอัตราส่วนกลับกับอัตราเงินเฟ้อ คนในสมัยนี้ เมื่อรายได้มากกว่ารายจ่ายและมีเงินออมจึงไม่นิยมเก็บใส่ไหฝังดินไว้ หรือเก็บใส่ไว้ใต้หมอนอีกต่อไป แต่หาทางทำให้เงินออมนั้นเกิดประโยชน์ อาจจะด้วยการนำไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจะนำเงินนั้นไปให้ผู้ลงทุนหรือผู้บริโภคกู้ต่อไป บางครั้งจึงเรียกการนำเงินออมไปฝากสถาบันการเงินว่า เป็นการลงทุนทางอ้อม ในบางกรณีผู้มีเงินออมอาจจะทำการลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจเองก็ได้ ในกรณีนี้ถือเป็นการลงทุนทางตรง
วัตถุประสงค์ของการออม
                1. สร้างหลักประกันชีวิตในระหว่างยังทำงานและความมั่นคงทางด้านการเงิน
                2. เพื่อให้มีเงินไว้ใช้ในวัยชราไม่เป็นภาระต่อลูกหลานและสังคม
                3. เพื่อไว้ใช้ทางด้านการศึกษาในการนำมาสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและสร้างเงินในอนาคต
                4.เพื่อไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานและสังคม
                5. เพื่อเป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพหรือเปลี่ยนอาชีพ
                6. เพื่อไว้ใช้จ่ายนอกเหนือจากรายจ่ายประจำ
                7. เพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามเจ็บป่วย
หลักการออม
                ผู้บริโภคส่วนมากมีความคิดที่จะออมทรัพย์เพื่อไว้ใช้จ่ายในอนาคตแต่มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่สามารถจะทำการออมทรัพย์ดังที่ตนปรารถนาได้ ฉะนั้น ผู้บริโภคควรจะต้องรู้จักวิธีการออมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ซึ่งผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามหลักการออมทรัพย์ 3 ประการ ดังนี้
                1.   รู้จักเพิ่มพูนรายได้ ผู้บริโภคต้องมีความกระตือรือร้น ขยันขันแข็ง มานะอดทนในการประกอบอาชีพรู้จักหาทางเพิ่มพูนรายได้ตลอดเวลา เพราะโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ผู้ที่มีรายได้มากย่อมมีโอกาสออมทรัพย์ได้มากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
2.    รู้จักใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดและฉลาด ผู้บริโภคควรจะได้มีการวางแผนการใช้เงินและปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังจะต้องฝึกให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักการใช้เงิน และประหยัดจนเป็นนิสัยและมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำการออมทรัพย์ หากทำได้เช่นนี้แล้วครอบครัวก็จะมีเงินออมไว้ใช้จ่ายในอนาคตตามต้องการ
3.   รู้จักสงเคราะห์ผู้อื่น หรือสังคมเท่าทีจำเป็นทั้งนี้เพราะผู้บริโภคทุกคนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนก็ควรจะมีรายได้เพื่อสังคมบ้างตามความจำเป็น เช่น เพื่อการกุศล ได้แก่ งานศพ งานบวชนาค ช่วยผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ ได้แก่ ออมเงินซ่อมถนนหรือ ซอยเข้าหมู่บ้าน ออกเงินซื้อเครื่องดับเพลิง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการออม
                1.  รายได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดขีดความสามารถในการออมทรัพย์ของผู้บริโภคโดยปกติผู้มีรายได้ย่อมมีเงินเหลือและออมได้มากกว่า ผู้ที่มีรายได้น้อย
2.  ค่าใช้จ่าย เป็นปัจจัยสำคัญอีกอันหนึ่งในการกำหนดขีดความสามารถในการออมทรัพย์ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแต่ละคน หรือแต่ละครอบครัวขึ้นอยู่กับนิสัยการใช้เงิน จำนวนสมาชิกในครอบครัว สุขภาพของคนในครอบครัวโดยทั่วไปแล้ว ถ้าบุคคลหรือครอบครัวใดมีค่าใช้จ่ายมาก จะทำให้มีเงินเหลือน้อย และออมทรัพย์ได้น้อย
3.  สถาบันการลงทุน สถาบันอำนวยความสะดวกแก่ผู้ออมทรัพย์มากน้อยเพียงใด หากให้บริการดี มีความมั่นคงสูง ก็จะเป็นแรงจูงใจให้มีผู้ออมทรัพย์มากขึ้น
4. อัตราดอกเบี้ยถ้าหากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง ก็จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง และนำเงินมาออมทรัพย์มากขึ้น
5. โอกาสในการลงทุน ถ้ามีโอกาสมากในการลงทุนและมีผลตอบแทนดี ก็จะเป็นการจูงใจให้มีการออมมากขึ้น
6. ขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างมีอิทธิพลต่อการใชจ่ายและการออมทรัพย์ได้มากเช่นกันขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างทำให้มีการใช้จ่ายเงินกันมา เช่น งานบวชนาค งานศพ งานแต่งงานในบางท้องที่มีการแข่งขันกันมาก ต้องจัดงานเลี้ยงหลายวัน มีมหรสพ เลี้ยงกันทั้งหมู่บ้านใช้จ่ายเงินที่เก็บหอมรอมริบมาหลายปีจนหมด บางรายถึงกับต้องเป็นหนี้เป็นสินไปอีกนาน
ประโยชน์ของการออม
1. ประโยชน์ต่อตนเอง
                1.1 มีความอบอุ่นใจและไม่มีความกังวลใจเรื่องต่างๆ สามารถเตรียมพร้อมมีเหตุการฉุกเฉิน ทำให้มีสุขภาพจิตดี
                1.2 ผู้บริโภคอาจใช้เงินซื้อสิ่งของที่มีมูลค่าสูง และมีคุณภาพดี มาใช้ตามความพอใจได้
                1.3 เป็นการสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตและครอบครัว
                1.4 สามารถนำเงินไปลงทุนในกิจการ เพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติมขึ้นได้
2. ประโยชน์ส่วนรวม
               2.1  เพื่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะสถาบันการเงินที่ผู้บริโภคเอาเงินไปฝากนั้น จะนำไปให้พ่อค้าแม่ค้าและนักธุรกิจกู้เพื่อเอาไปลงทุนอีกต่อหนึ่ง เมื่อผู้บริโภคออมทรัพย์มาก ปริมาณการลงทุนก็มากด้วย
                2.2  เมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ประชาชนก็มีงานทำ มีรายได้มากขึ้น มาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนจะดีขึ้น
                2.3  เมื่อประชาชนมีความกินดีอยู่ดีแล้ว เศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะดีขึ้น
              2.4  ทำให้เกิดความสมดุลทางการค้า และการชำระเงินกับต่างประเทศ เพราะสามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายต่างประเทศได้มากขึ้น และมีความจำเป็นต้อง ซื้อจากต่างประเทศน้อยลง
สถาบันการเงินเพื่อการออม
สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ทำธุรกิจในรูปของการกู้ยืมและให้กู้ยืม หรือเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ให้กู้และผู้ขอกู้ โดยอาศัยเครื่องมือหรือตราสารทางการเงินและรับภาระการเสี่ยงจากการให้กู้ยืมแทน ส่วนรายได้จากสถาบันการเงินมาจากความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากผู้ขอกู้ และอัตราดอกเบี้ยซึ่งต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้
สถาบันการเงินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.สถาบันการเงินในระบบ เป็นสถาบันการเงินที่ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินในแต่ละประเภท
2.สถาบันการเงินนอกระบบ เป็นสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่มีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับควบคุมการดำเนินงาน เช่น การกู้ยืมกันโดยตรง การเล่นแชร์ สินเชื่อทางการค้า การซื้อขายลดเช็ค เป็นต้น สถานบันการเงินนอกระบบมีลักษณะที่แตกต่างกันไปหลายรูปแบบและยากต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้วอาจไม่เรียกว่าเป็นสถาบันการเงินก็ได้ เพราะกฎหมายมิได้รับรอง
สถาบันการเงินจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. ประเภทของสถาบันการเงินที่พิจารณาตามอายุของหลักทรัพย์ที่สถาบันการเงินนั้นได้ออกหรือทำการซื้อขาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สถาบันการเงินในตลาดเงิน เป็นสถาบันการเงินที่ออกหลักทรัพย์และซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเงินในระยะสั้น ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทเงินทุนบางบริษัทที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี หรือบริษัทเงินทุนบางบริษัทที่รับซื้อลดตราสารพาณิชย์หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี เช่น ตราสารพาณิชย์และตราสารของบริษัทเงินทุน การกู้เงินโดยการเบิกบัญชี บัตรเงินฝาก และตั๋วเงินคลัง
1.2 สถาบันการเงินในตลาดหุ้น เป็นสถาบันที่ออกหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุกำหนดมากกว่า 1 ปี ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมในระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุครบกำหนดเกิน 1 ปี เป็นต้น
2.ประเภทของสถาบันการเงินที่พิจารณาตามหน้าที่และลักษณะการดำเนินกิจกรรมหลักของสถาบันการเงินภายใต้กรอบของกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ประเภท
2.1 สถาบันการเงินเกี่ยวกับการรับฝากเงิน เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่หลักในการระดมทุนส่วนใหญ่ โดยวิธีการรับฝากเงินจากประชาชนประเภทต่างๆ เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เงินฝากสะสมทรัพย์ และเงินฝากประจำ เงินทุนที่ระดมได้อาจจะนำไปใช้ลงทุนหรือให้กู้ยืมใบขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้หรืออาจจะเป็นการให้กู้เพื่อการลงทุนในธุรกิจ ให้กู้เพื่อการบริโภค เพื่อการเคหะ หรืออาจนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2.2 สถาบันการเงินที่มีสัญญาผูกพันกับแหล่งเงินทุน เป็นสถาบันที่สร้างเครื่องมือทางเครดิตที่มีลักษณะเป็นสัญญาผูกพันกับเจ้าของเงินทุนหรือผู้ออม เช่น บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยอื่นๆ กองทุนบำนาญ กองทุนสะสม เงินทุนที่ระดมได้จะนำไปให้กู้หรือนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีระยะเวลายาวเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงขึ้น
2.3 สถาบันการเงินที่ระดมทุนโดยการออกเครื่องมือทางการเงิน เช่น การออกหุ้นกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนได้นำเงินมาซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพื่อการออมทรัพย์ ได้แก่ บริษัทเงินทุนต่างๆ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กองทุนรวม โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะนำเงินไปให้กู้ยืมเพื่อการบริโภค การผลิต และนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
2.4 สถาบันการเงินที่มีหน้าที่หลักในการให้กู้ เป็นสถาบันที่ให้กู้ยืมโดยใช้เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการเงินทุนของเจ้าของ จากการขายหุ้น และจากการกู้ยืมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โรงรับจำนำ
สถาบันการเงินในประเทศไทย
1. ธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทเงินทุน
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
4. ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
7. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
8. บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
9. สหกรณ์การเกษตร
10. สหกรณ์ออมทรัพย์
11. บริษัทประกันภัย
12. โรงรับจำนำ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่จัดการดูแลระบบการเงินของประเทศให้มีความมั้นคง
สถาบันการเงินเป็นองค์กรที่ทำทางด้านการเงินโดยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางการระดมเงินออมจากกลุ่มหนึ่งแล้วมาปล่อยกู้ให้แก่คนอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อการบิรโภท การลงทุน หรือประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างสถาบันการเงินเหล่านี้มีหลายประเภท ทั้งที่เป็นสถาบันการเงินประเภทธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
Source: tulip.bu.ac.th/~sumanee.p/download/ec314/EC314_Chapter6-1.doc
ปัจจัยในการเลือกสถานบันการเงินเพื่อการออม
                 - เป็นสถาบันการที่มีความมั่นคงและปลอดภัย 
                - ให้ผลตอบแทนมากและแน่นอน
                - เป็นสถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องสูง( การหมุนเวียนของเงินที่จะนำมาจ่ายคืนเงินออมรวดเร็ว )
                - เกิดภาระภาษีจากผลตอบแทนของเงินออมไม่สูงเกินไป


หน่วยที่ 4 การลงทุน( Investment )

หน่วยที่ 4 การลงทุน( Investment )
สาระสำคัญ
                บุคคลเมื่อมีรายได้เหลือจากการใช้จ่ายก็จะเก็บเงินออมส่วนหนึ่งไว้และมีทางเลือกที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์งอกเงยขึ้นจากการนำเงินออมไปลงทุนในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  การฝากธนาคาร  การซื้อพันธบัตร
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนซื้อหุ้นทุน การลงทุนที่ดีจะเกิดผลตอบแทน ขณะเดียวกันผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการสูญเสียเงินลงทุนหรือผลขาดทุนจากการลงทุนด้วยเสอมเราะไม่มีการลงทุนใดที่ไม่มีความเสี่ยง   ก่อนการตัดสินใจลงทุนจึงควรศึกษา  ข้อมูลและวางแผนลงทุนให้เหมาะสมว่าควรจะลงทุนด้วยตนเองหรือให้มืออาชีพ ไม่ว่าจะลงทุนใดผู้ลงทุนต้องตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเพื่อจะได้เกิดความเป็นธรรมและมีหน่วยงานที่ให้  การควบคุมดูแลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างมั่นคง
         -  การนำเงินออมมาแปรสภาพเป็นเงินลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามความคาดหวัง
         -  การใช้เงินออมหรือการนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือการนำหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ออกไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อให้เกิดกำไรในอนาคต
         -  การที่ผู้บริโภคนำเงินออมที่มีอยู่หรือเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาดำเนินกิจกรรมด้านธุรกิจเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภค
รูปแบบของการลงทุน
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ประจำ
        -  การฝากเงินกับธนาคาร (ดอกเบี้ย)
        -  การฝากเงินกับสถาบันการเงิน (ดอกเบี้ย)
        -  การซื้อพันธบัตร (ดอกเบี้ย)
        -  การซื้อสลากออมสิน (ถูกรางวัล)
        -  การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต (เงินปันผล)
        -  การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เงินปันผล)
        -  การซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม (เงินปันผล)
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ผันแปร
        -  การซื้อหุ้นสามัญ (เงินปันผลตามผลกำไร)
        -  การซื้ออสังหาริมทรัพย์อาคารชุด บ้าน ที่ดิน (กำไรจากการขายต่อ)
        -  การซื้อโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (การเก็งกำไร)
ประเภทของการลงทุน
การลงทุนทางด้านผู้บริโภค
       -  การลงทุนซื้อสินค้าและอสังหาริมทรัพย์ (มุ่งหวังกำไรและความพอใจในการใช้)
       -  การลงทุนทางธุรกิจ (มุ่งหวังผลกำไรในการดำเนินงาน)
       -  การลงทุนในหลักทรัพย์ (มุ่งหวังผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือเงินปันผล)
ประเภทของการลงทุน
       -  การลงทุนทางตรง (direct Investment) เจ้าของทุนใช้เงินของตนเองและรับผิดชอบดำเนินการด้วยตนเอง
       -  การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment)เจ้าของทุนเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือร่วมลงทุน          กับธุรกิจอื่นเป็นการลงทุนทางการเงิน
หลักการพิจารณาการลงทุน
       -  ความปลอดภัยของการลงทุน
       -  ผลตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมคุ้มค่า
       -  ความเสี่ยงหรือโอกาสเกิดความสูญเปล่าของการลงทุน
       -  สภาพคล่องหรือความสามารถเปลี่ยนเงินลงทุนเป็นเงินสดได้เร็ว
การศึกษาข้อมูลในการลงทุนบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือลงทุน (รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทจำกัด)
       -  ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและฐานะการเงิน
ผู้ให้บริการทางการเงิน (นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนหน่วยลงทุน)
       -  เป็นตัวกลางของการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ตลาดซื้อขายเครื่องมือลงทุน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย)
       -  เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ผู้กำกับดูแล (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต)
       -  เป็นองค์การที่ดูแลให้การลงทุนดำเนินการอย่างราบรื่นและเป็นธรรมการศึกษาข้อมูลลงทุน
แหล่งข้อมูลในการลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานควบคุมสถาบันการเงินเพื่อการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต)
        -  พัฒนา กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจจัดการลงทุน
        -  เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสำคัญของธุรกิจจัดการลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        -  ส่งเสริมการระดมเงินออมและการระดมเงินทุนภายในประเทศ
       -  เสริมสร้างสภาพคล่องและเสถียรภาพการซื้อขายหลักทรัพย์
       -  เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
สถาบันที่ให้คำแนะนำปรึกษาการลงทุน
       -  ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์
แหล่งข้อมูลภายในของบริษัท
       -  งบการเงิน รายงานประจำปี
แหล่งข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
       -  เพื่อน ญาติ นักลงทุน
การวางแผนลงทุน
การลงทุนด้วยตนเอง
    1.  กำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน
     -  ผลตอบแทนที่ต้องการ
     -  ระยะเวลาในการลงทุน
     -  ระดับความเสี่ยง
   2.  เลือกรูปแบบของการลงทุน
                การลงทุนรายใหญ่ - ตราสารหนี้
                การลงทุนรายย่อย
     -  เงินฝาก
     -  พันธบัตร
     -  ตั๋วสัญญาใช้เงิน
     -  หุ้น
     -  การทำประกันหุ้น
                การวางแผนลงทุน-การลงทุนด้วยตนเอง
    3.  กระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่หลากหลาย
    4.  หาช่องทางแก้ปัญหาหากไม่ได้รับความเป็นธรรมใน การลงทุน
    5.  เลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนหน่วยลงทุน
    6.  แสวงหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุนจากบุคคลที่ เกี่ยวข้อง และแหล่งข้อมูลต่างๆ
การวางแผนลงทุน
การลงทุนผ่านผู้บริหารเงิน
    -  การลงทุนผ่านกองทุนรวม
*เหมาะแก่ผู้ลงทุนมือใหม่ซึ่งไม่มีเวลาศึกษาข้อมูล ดูแล ติดตามการลงทุน
   -  พิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยง
   -  เลือกรูปแบบการลงทุน
การลงทุนรายใหญ่ - กองทุนรวมเฉพาะด้าน
การลงทุนรายย่อย - กองทุนรวม
    -  เลือกผู้บริหารเงิน
การมีใบอนุญาต + การคิดค่าธรรมเนียม
    -  ศึกษาสิทธิและหน้าที่ของผู้ลงทุน
สิทธิ การเรียกร้องสิทธิจากปัญหาที่เกิดจากการลงทุน
หน้าที่ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลในการลงทุนประเภทต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนและผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนได้รับ
    -  เกิดผลตอบแทนผลกำไรจากการลงทุน
    -  เกิดความมั่นคงทางการเงิน
    -  เกิดการออมเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนและผลประโยชน์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
    1.  เกิดผลกำไรจากการดำเนินงานทางธุรกิจ
    2.  ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
    3.  เกิดการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการลงทุน
    4.  เกิดความก้าวหน้า พัฒนาประเทศด้านต่างๆ (การคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา)

    5.  รายได้ประชาชาติ / ผลผลิตสุทธิของ ประเทศเพิ่มขึ้น

หน่วยที่ 5 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์

หน่วยที่  5 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์
สาระสำคัญ
                เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของตลาดทุนตลาดทุน (Capital Market)แหล่งในการระดมเงินออมระยะยาวเพื่อนำมาจัดสรรแก่ผู้ต้องการเงินทุนระยะยาวนำไปใช้ขยายธุรกิจ การลงทุนด้านการสาธารณะรัฐบาลการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมและพณิชยกรรม
ประเภทของตลาดทุน
1. ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกเป็นครั้งแรก
2. ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดแรกมาก่อน เป็นตลาดที่สนับสนุนตลาดแรกช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของการลงทุนตลาดรองแบ่งได้ 2 ประเภท
                1.ตลาดหลักทรัพย์ (Securities Market) สถาบันการเงินที่ส่งเสริมการระดมเงินออมและจัดสรรเงินทุน
                2. ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาด (Over the Counter) การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์มีที่ทำการอยู่ ณ ห้องค้าหลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand)
                สถาบันการเงินในตลาดรอง ควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งเสริมการระดมเงินออมเพื่อการลงทุนในกิจการต่างๆ จัดสรรเงินทุนในตลาดทุนอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
วิวัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
                สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งปันสินทรัพย์ระหว่างพ่อค้าที่ร่วมลงทุนด้วยกันและข้อกำหนดเรื่องการขายหุ้นทำกิจการค้ากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการค้าขายกับต่างประเทศอย่างเสรีหลังทำสัญญาเบาริงกับประเทศอังกฤษมีการลงทุนทางการค้าและอุตสาหกรรมมากทำให้เกิดความต้องการใช้ทุนจำนวนมากแต่ในช่วงแรกฯของยุครัตนโกสินทร์เรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์ยังไม่เด่นชัดในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เปิดดำเนินการธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ 2 ธันวาคม 2431พ.ศ. 2411-2453 เริ่มมีสถาบันการเงินต่างๆและธนาคารเปิดดำเนินการเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนมาสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจได้แก่บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ธนาคารออมสินประเทศไทยมีการออกกฎหมายฉบับแรกที่กล่าวถึงการเข้าหุ้นทำ การค้าในรูปบริษัทรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชพ.ศ. 2496 เป็นต้นมาบริษัทเบิร์ดจำกัดจดทะเบียนประกอบธุรกิจนายหน้าและค้าหุ้นอย่างเป็นทางการเป็นบริษัทแรกพ.ศ. 2503 รัฐบาลเริ่มวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและเริ่มพัฒนาตลาดทุนมีการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีนักธุรกิจชาวต่างประเทศจัดตั้งสถาบันการเงินประเภทบริษัทจัดการลงทุน ใช้ชื่อว่า กองทุนรวมไทยเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 3 ลักษณะ
                1.การประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
                2.กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
                3.กิจการจัดการกองทุนรวมพ.ศ. 2515 ออกกฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินประเภทธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย 20 พฤษภาคม 2517 ประเทศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517เพื่อให้เป็นศูนย์การซื้อขายหลักทรัพย์แห่งเดียวในราชอาณาจักร เริ่มเปิด ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 26 กันยายน 2527 ประกาศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2.เพื่อพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น 16 พฤษภาคม 2535 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ออกใช้พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลตลาดทุน การออกจำหน่ายหลักทรัพย์ การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์
บทบาทหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                1. ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ
                2. สนับสนุนการเป็นเจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ
                3. ช่วยให้การซื้อขายหลักทรัพย์มีสภาพคล่อง
                4. คุ้มครองผลประโยชน์แก่ผู้ลงทุน
                5. เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์
องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -สถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ / ห้องค้าหลักทรัพย์
                -บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
                -หลักทรัพย์
                -ผู้ลงทุน
หลักทรัพย์
หลักทรัพย์จดทะเบียน
หลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนกับตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
                -มีผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 300 ราย
หลักทรัพย์รับอนุญาต
หลักทรัพย์ของบริษัทขนาดเล็ก ที่จดทะเบียนรับอนุญาตกับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
                -ผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 50 ราย
                -บริษัทตั้งใหม่ที่มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทและผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50 ราย
หลักทรัพย์จดทะเบียน( Listed Security )หุ้นสามัญ - ตราสารทุน ที่ผู้ลงทุน ซื้อหุ้นจะเข้าไปมีส่วนรวมในธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ
                -ผลตอบแทนทางตรง
                -เงินปันผล
                -ผลประโยชน์ทางอ้อม
                -กำไรจากการขายหุ้น หุ้นบุริมสิทธิ์ - ตราสารทุนที่ผู้ลงทุนมีสิทธิ์ได้รับชำระคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
                -มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลใช้อัตราคงที่เหมือนอัตราดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้
                -ได้รับสิทธิในการแปรงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้(หลักทรัพย์จดทะเบียน)หุ้นกู้ - ตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน ผลตอบแทน คือดอกเบี้ยตามระยะเวลาในการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ - หุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในช่วงเวลาและ ราคาที่กำหนดผลตอบแทน ผลกำไรจากราคาหุ้นสามัญที่แปลงสภาพมากกว่า ดอกเบี้ยหุ้นกู้พันธบัตร - สัญญาเงินกู้ที่เปลี่ยนมือได้ - เป็นตราสารหนี้ออกโดยรัฐบาลผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ยใบสำคัญแสดงสิทธิ - ตราสารที่ระบุสิทธิการจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ ในราคาที่กำหนด ตามเวลาที่ระบุไว้ใบสำคัญแสดงสิทธิในระยะสั้น - ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 2เดือนใช้แทนสิทธิในการจองซื้อหุ้น
หลักทรัพย์จดทะเบียน
                ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ - ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธุในการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิง ในราคาใช้สิทธิ์อัตราการใช้สิทธิ์และระยะเวลาตามที่กำหนดใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย - ตราสารอนุพันธ์ซึ่งมีมูลค่ามาจากสินทรัพย์หรือตัวแปรอ้างอิงซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์หรือดัชนี หลักทรัพย์หน่วยลงทุน
                - ตราสารที่ออกโดยบริษัทจัดการลงทุน เป็นกองทุนเพื่อระดมทุนจากประชาชนมีผู้บริหารกองทุนให้เกิดผลตอบแทนแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโอนสิทธิได้
                -ตราสารที่ให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นเดิมที่ถืออยู่ใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
                - ตราสารที่ออกจำหน่ายแก่ผู้ลงทุนที่มีสัญชาติไทยจากบริษัทสยามดีอาร์จำกัดซึ่งจัดตั้งโดยตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
                -ผลประโยชน์ที่เกิด คือสิทธิผลประโยชน์ทางการเงินและสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
                1. พัฒนาคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน ด้านระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน
                2. เพิ่มประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
                3. เสริมสร้างเสถียรภาพและสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์
                4. กำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้ยุติธรรมและน่าเชื่อถือ
                5. พัฒนาช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้แก่ผู้ลงทุน
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
                -เงินลงทุนซื้อหลักทรัพย์นำมาหักเป็นเงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                -หุ้นปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
                -กำไรจากการขายหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
                -เงินปันผล จากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด
บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                -ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
                -นำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
หลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
                1.ความเสี่ยงทางการเงิน
                2.ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย
                3.สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
                4.ผลตอบแทนและผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ
                5.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ / ค่าเงิน
                6.ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
                7.ปัจจัยทางการเมืองที่กระทบต่อราคาหุ้น / หลักทรัพย์
                8.ปัจจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่นผลกำไร การเพิ่มทุนการจ่ายปันผลและฐานะการเงินของบริษัท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
                1.ราคาหุ้น
                                -รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (ราคาน่าซื้อไปสู่ราคาน่าขาย)
                                -ใช้ราคาตลาดในอดีตพยากรณ์ราคาในตลาดในอนาคตของหุ้น
                2. ปริมาณซื้อขาย.
                                -ศึกษาราคาหุ้นที่มีความสำคัญกับปริมาณซื้อขายหุ้น
ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์
การพิจารณาภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย
                1.ดัชนีราคาหุ้น - เพื่อดูแนวโน้มของราคาหุ้นและการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น
                2.ปริมาณการซื้อขาย - เพื่อแสดงภาวะที่มีผู้ลงทุนหนาแน่นหรือซบเซาที่กระทบกับปริมาณซื้อขาย
                3.จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดสูงขึ้น-ลดลงหรือเท่าเดิมซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดหลักทรัพย์
การพิจารณาคุณภาพหุ้น
                -ราคา พิจารณาจำนวนเงินที่ลงทุนว่าเหมาะสมกับการซื้อขายหุ้นหรือไม่
                -ราคาปิดต่อราคาหุ้นเพื่อพิจารณาว่าจะใช้เวลากี่ปีในการที่กำไรต่อหุ้นจะรวมกันมีค่าเท่ากับราคาปิดของหุ้นนั้น
                -อัตราเงินปันผลตอบแทน แสดงถึงคุณภาพของหุ้นในการให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล
                -ปริมาณการซื้อขาย สภาพคล่องของหุ้นที่มีผลต่อปริมาณซื้อขายหลักทรัพย์
                -การพิจารณาหุ้นในเชิงธุรกิจการเงิน การวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโต ความมั่นคงเข้มแข็งเชิงทางการเงินของหุ้นที่จะลงทุน
ขั้นตอนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
                1. วางแผนการลงทุน
                2. เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อใช้สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
                3. ติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ / โบรกเกอร์สมัครเป็นสมาชิกและขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (ใช้บัญชีเงินสด หรือ ใช้บัญชีมาร์จิน)
                4. ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (ห้องค้าหลักทรัพย์ ส่งทางโทรศัพท์ ส่งทางอินเทอร์เน็ต)

                5. การศึกษาหน่วยซื้อขาย ช่วงราคา ราคาซื้อขายสูงสุด / ต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของดัชนี