วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล
สาระสำคัญ   
1.ความหมายของเงิน
เงิน คือ สิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการชำระสินค้าหรือการปลดเปลื้องพันธะทางธุรกิจ (โรเบิร์ตสัน)
                เงิน เป็นเครื่องมือซึ่งทุกคนเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดหนึ่งกับสินค้าชนิดอื่น (ฮูม)
                เงิน คือ สิ่งที่สังคมยอมรับเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงใช้ในการชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคต
2. หน้าที่ของเงิน
-   เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำหน้าที่อำนวยความสะอวดในการซื้อขายและบริการ
-   เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า มีการกำหนดหน่วยเพื่อจัดมูลค่าของสินค้าและบริการ
-   เงินเป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต เป็นการกำหนดตามมาตรฐานตามสัญญาในการยอมรับสำหรับการชำระหนี้ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
-   เงินเป็นเครื่องมือรักษามูลค่า เงินจัดเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าที่จะถูกเก็บรักษาเอาไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคต เพราะเงินเป็นเครื่องรักษามูลค่าทรัพย์สินให้คงที่
-   เงินเป็นสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายในประเทศนั้นๆ ให้เงินที่ผลิออกมาสามารถชำระหนี้ระหว่างกันได้
-   เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า ทำหน้าที่ในการโอนหนี้หรือโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลอื่นหรือสถานที่อื่นๆ ได้โดยสะดวก
 3.   พัฒนาการของเงิน
-   เงินเป็นสิ่งของหรือสินค้าเป็นที่ยอมรับในแต่ละสังคมมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
-   เงินกษาปณ์ การประดิษฐ์สิ่งที่เป็นโลหะที่มีค่าต่างๆ
-   เงินกระดาษ เป็นรูปแบบของใบสัญญาจากการฝากของหรือที่เราเรียกว่า ใบรับฝากโลหะ
-   เงินเครดิต สิ่งที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับเงินสด หรือเงินเชื่อ ซึ่งได้ถูกกำหนดให้มีการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เงินเครดิต มีค่าทางเป็นเงินมากกว่าค่าของสิ่งที่ใช้ทำเงินนั้นขึ้นมา
4.   บทบาทของเงิน
-ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
- เป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรและกระจายเงินทุนไปยังหน่วยเศรษฐกิจ
- เป็นเครื่องมือในการสะสมความมั่งคั่งทำให้เกิดการกระจายรายได้ของประชาชน
5.   ความสำคัญของเงินที่มีต่อบุคคล
1. ด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค = เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
                2. ด้านความเจริญทางเศรษฐกิจของตน = การเพิ่มขึ้นของรายได้
                3. ด้านการออม = การเก็บเงินจากส่วนที่เหลือใช้จ่ายจากรายได้ของตน
                4. ด้านการตัดสินใจลงทุน = เกิดผลตอบแทนคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไป
                5. ด้านการวางแผนทางการเงิน = การออมเงินและการลงทุน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น