วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 2 การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

หน่วยที่ 2 การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
สาระสำคัญ
ความหมายของการวางแผนทางการเงิน
              การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการสร้าง ใช้งาน ปรับปรุง และแก้ไข แผนงานเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายการเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ โดยแนวคิดของแผนเน้นถึง เป้าหมาย นับตั้งแต่จุดแรกเริ่มของการวางแผนการลงทุน มากกว่าการใช้เครื่องมือทางการเงินแบบใดแบบหนึ่ง หรือมากกว่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการเงินบางปัญหาเท่านั้น
ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
                -   ทำให้มีความรอบคอบในการใช้เงิน
                -   รู้จักใช้จ่ายเงิน
                -   เกิดการบริหารทางการเงิน
                -   ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายฟุ่มเฟือย
                -   มีหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน
                -   ทำให้ระบบเศรษฐกิจมั่นคง
ในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
                -   การหารายได้
                -   การใช้จ่ายหรือรายจ่าย
                -   การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
                -   การออม
การจัดทำงบประมาณการเงิน
               "การประมาณการรายได้ และการประมาณการใช้จ่ายเงินเพื่อให้สนองตามความต้องการและบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" ผู้บริโภคจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาในการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายบ่อยครั้งที่พบว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย เครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยให้การใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคอยู่ภายในขอบเขตของรายได้ คือ การจัดทำงบประมาณการเงิน ซึ่งผู้บริโภคจะต้องประมาณการรายได้ และรายจ่ายโดยคิดคำนวณออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งอาจทำงบประมาณเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีก็ได้งบประมาณการเงินของผู้บริโภคแต่ละคนย่อมแตกต่างกันตามอาชีพ รายได้ และความต้องการของแต่ละคน
ประโยชน์ของการทำงบประมาณการเงิน
             การจัดทำงบประมาณการเงินของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์หลักในการทำให้ผู้บริโภคครองชีพในชีวิตประจำวันอยู่ได้ภายในวงเงินรายได้ของตน ไม่เป็นหนี้เป็นสินใครและอีกทั้งยังมีเงินออมไว้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วการทำงบประมาณยังมีประโยชน์อีกหลายประมาณ กล่าวคือ
               1.  ช่วยให้สามารถจัดลำดับความต้องการในการซื้อสินค้าได้ เช่น ในขณะนี้เราคิดไว้ว่า ถ้าเรามีรายได้เพิ่มขึ้นสิ่งที่เราต้องการมาก คือ โทรทัศน์สี เสตอริโอ รถจักรยานยนต์ ตามลำดับและเมื่อเรามีเงินเราก็จะตัดสินใจจัดสรรเงินเพื่อซื้อโทรทัศน์สี ก่อนสิ่งอื่นถ้ามีเงินเหลือจึงค่อยซื้อ เสตอริโอ รถจักรยานยนต์ ตามลำดับ
                2.  ช่วยให้มีการจัดระเบียบตัวเอง และฝึกนิสัยในการใช้จ่ายเงิน
                3. ช่วยให้มีความระมัดระวังรอบคอบในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพราะผู้บริโภคจะต้องพยายามใช้จ่ายเงินตามรายการในประมาณ
              4.   ช่วยทำให้ตระหนักในค่าของเงินมากขึ้นโดยผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบการเงินของตน อยู่เสมอว่าใช้จ่ายเงินไปเท่าใดแล้ว
              5. ช่วยให้เกิดความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจในอนาคตได้เพราะการทำงบประมาณการเงินจะทำให้ผู้บริโภคใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพมีเงินเหลือเก็บออมไว้ซึ่งจะทำให้ครอบครัวมีหลักประกันในอนาคตมีความสุขในการดำรงชีพ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
                การวางแผนใช้จ่ายเงินเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวล่วงหน้าของผู้บริโภคสำหรับการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เพียงพอกับรายได้ และป้องกันมิให้เกิดปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายพร้อมกันนั้น จะต้องมีเงินออมไว้สำหรับใช้จ่ายในอนาคตด้วย
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภค
                การวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดในการซื้อสินค้า และบริการของผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคควรมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นก่อนตัดสินซื้อ ในขั้นนี้ผู้บริโภคเริ่มมีความสนในใจสินค้าซึ่งผู้บริโภคควรจะตั้งคำถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้
            1.1มีความจำเป็นหรือไม่?
            1.2ของเดิมที่มีอยู่ใช้การได้หรือไม่?
            1.3มีเงินพอซื้อหรือไม่?
2.ขั้นตัดสินใจซื้อ เมื่อผู้บริโภคได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ในขั้นก่อนตัดสินใจซื้อมาแล้ว และกำลังตัดสินใจซื้อในขั้นนี้ผู้บริโภคควรถามตัวเองเรื่องดังนี้
             2.1ได้รับประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่?
             2.2 ควรซื้อเงินสดหรือเงินผ่อน
3.ชั้นเลือกซื้อ หลังจากที่ผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อสินค้าแน่นอนแล้ว ผู้บริโภคก็จะต้องตัดสินใจเรื่องต่อไปนี้
         3.1ซื้อยี่ห้อใด?ของบริษัทใด?
         3.2ซื้อเมื่อใด?
         3.3ซื้อที่ไหน? (จากบริษัทใหญ่ หรือจากตัวแทนจำหน่าย)
         3.4 ซื้อเงินสดหรือเงินผ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น