วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 5 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์

หน่วยที่  5 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์
สาระสำคัญ
                เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของตลาดทุนตลาดทุน (Capital Market)แหล่งในการระดมเงินออมระยะยาวเพื่อนำมาจัดสรรแก่ผู้ต้องการเงินทุนระยะยาวนำไปใช้ขยายธุรกิจ การลงทุนด้านการสาธารณะรัฐบาลการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมและพณิชยกรรม
ประเภทของตลาดทุน
1. ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกเป็นครั้งแรก
2. ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดแรกมาก่อน เป็นตลาดที่สนับสนุนตลาดแรกช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของการลงทุนตลาดรองแบ่งได้ 2 ประเภท
                1.ตลาดหลักทรัพย์ (Securities Market) สถาบันการเงินที่ส่งเสริมการระดมเงินออมและจัดสรรเงินทุน
                2. ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาด (Over the Counter) การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์มีที่ทำการอยู่ ณ ห้องค้าหลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand)
                สถาบันการเงินในตลาดรอง ควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งเสริมการระดมเงินออมเพื่อการลงทุนในกิจการต่างๆ จัดสรรเงินทุนในตลาดทุนอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
วิวัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
                สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งปันสินทรัพย์ระหว่างพ่อค้าที่ร่วมลงทุนด้วยกันและข้อกำหนดเรื่องการขายหุ้นทำกิจการค้ากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการค้าขายกับต่างประเทศอย่างเสรีหลังทำสัญญาเบาริงกับประเทศอังกฤษมีการลงทุนทางการค้าและอุตสาหกรรมมากทำให้เกิดความต้องการใช้ทุนจำนวนมากแต่ในช่วงแรกฯของยุครัตนโกสินทร์เรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์ยังไม่เด่นชัดในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เปิดดำเนินการธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ 2 ธันวาคม 2431พ.ศ. 2411-2453 เริ่มมีสถาบันการเงินต่างๆและธนาคารเปิดดำเนินการเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนมาสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจได้แก่บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ธนาคารออมสินประเทศไทยมีการออกกฎหมายฉบับแรกที่กล่าวถึงการเข้าหุ้นทำ การค้าในรูปบริษัทรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชพ.ศ. 2496 เป็นต้นมาบริษัทเบิร์ดจำกัดจดทะเบียนประกอบธุรกิจนายหน้าและค้าหุ้นอย่างเป็นทางการเป็นบริษัทแรกพ.ศ. 2503 รัฐบาลเริ่มวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและเริ่มพัฒนาตลาดทุนมีการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีนักธุรกิจชาวต่างประเทศจัดตั้งสถาบันการเงินประเภทบริษัทจัดการลงทุน ใช้ชื่อว่า กองทุนรวมไทยเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 3 ลักษณะ
                1.การประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
                2.กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
                3.กิจการจัดการกองทุนรวมพ.ศ. 2515 ออกกฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินประเภทธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย 20 พฤษภาคม 2517 ประเทศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517เพื่อให้เป็นศูนย์การซื้อขายหลักทรัพย์แห่งเดียวในราชอาณาจักร เริ่มเปิด ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 26 กันยายน 2527 ประกาศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2.เพื่อพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น 16 พฤษภาคม 2535 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ออกใช้พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลตลาดทุน การออกจำหน่ายหลักทรัพย์ การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์
บทบาทหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                1. ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ
                2. สนับสนุนการเป็นเจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ
                3. ช่วยให้การซื้อขายหลักทรัพย์มีสภาพคล่อง
                4. คุ้มครองผลประโยชน์แก่ผู้ลงทุน
                5. เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์
องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -สถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ / ห้องค้าหลักทรัพย์
                -บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
                -หลักทรัพย์
                -ผู้ลงทุน
หลักทรัพย์
หลักทรัพย์จดทะเบียน
หลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนกับตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
                -มีผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 300 ราย
หลักทรัพย์รับอนุญาต
หลักทรัพย์ของบริษัทขนาดเล็ก ที่จดทะเบียนรับอนุญาตกับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                -มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
                -ผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 50 ราย
                -บริษัทตั้งใหม่ที่มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทและผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50 ราย
หลักทรัพย์จดทะเบียน( Listed Security )หุ้นสามัญ - ตราสารทุน ที่ผู้ลงทุน ซื้อหุ้นจะเข้าไปมีส่วนรวมในธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ
                -ผลตอบแทนทางตรง
                -เงินปันผล
                -ผลประโยชน์ทางอ้อม
                -กำไรจากการขายหุ้น หุ้นบุริมสิทธิ์ - ตราสารทุนที่ผู้ลงทุนมีสิทธิ์ได้รับชำระคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
                -มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลใช้อัตราคงที่เหมือนอัตราดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้
                -ได้รับสิทธิในการแปรงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้(หลักทรัพย์จดทะเบียน)หุ้นกู้ - ตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน ผลตอบแทน คือดอกเบี้ยตามระยะเวลาในการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ - หุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในช่วงเวลาและ ราคาที่กำหนดผลตอบแทน ผลกำไรจากราคาหุ้นสามัญที่แปลงสภาพมากกว่า ดอกเบี้ยหุ้นกู้พันธบัตร - สัญญาเงินกู้ที่เปลี่ยนมือได้ - เป็นตราสารหนี้ออกโดยรัฐบาลผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ยใบสำคัญแสดงสิทธิ - ตราสารที่ระบุสิทธิการจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ ในราคาที่กำหนด ตามเวลาที่ระบุไว้ใบสำคัญแสดงสิทธิในระยะสั้น - ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 2เดือนใช้แทนสิทธิในการจองซื้อหุ้น
หลักทรัพย์จดทะเบียน
                ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ - ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธุในการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิง ในราคาใช้สิทธิ์อัตราการใช้สิทธิ์และระยะเวลาตามที่กำหนดใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย - ตราสารอนุพันธ์ซึ่งมีมูลค่ามาจากสินทรัพย์หรือตัวแปรอ้างอิงซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์หรือดัชนี หลักทรัพย์หน่วยลงทุน
                - ตราสารที่ออกโดยบริษัทจัดการลงทุน เป็นกองทุนเพื่อระดมทุนจากประชาชนมีผู้บริหารกองทุนให้เกิดผลตอบแทนแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโอนสิทธิได้
                -ตราสารที่ให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นเดิมที่ถืออยู่ใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
                - ตราสารที่ออกจำหน่ายแก่ผู้ลงทุนที่มีสัญชาติไทยจากบริษัทสยามดีอาร์จำกัดซึ่งจัดตั้งโดยตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
                -ผลประโยชน์ที่เกิด คือสิทธิผลประโยชน์ทางการเงินและสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
                1. พัฒนาคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน ด้านระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน
                2. เพิ่มประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
                3. เสริมสร้างเสถียรภาพและสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์
                4. กำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้ยุติธรรมและน่าเชื่อถือ
                5. พัฒนาช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้แก่ผู้ลงทุน
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
                -เงินลงทุนซื้อหลักทรัพย์นำมาหักเป็นเงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                -หุ้นปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
                -กำไรจากการขายหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
                -เงินปันผล จากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด
บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                -ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
                -นำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
หลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
                1.ความเสี่ยงทางการเงิน
                2.ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย
                3.สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
                4.ผลตอบแทนและผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ
                5.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ / ค่าเงิน
                6.ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
                7.ปัจจัยทางการเมืองที่กระทบต่อราคาหุ้น / หลักทรัพย์
                8.ปัจจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่นผลกำไร การเพิ่มทุนการจ่ายปันผลและฐานะการเงินของบริษัท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
                1.ราคาหุ้น
                                -รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (ราคาน่าซื้อไปสู่ราคาน่าขาย)
                                -ใช้ราคาตลาดในอดีตพยากรณ์ราคาในตลาดในอนาคตของหุ้น
                2. ปริมาณซื้อขาย.
                                -ศึกษาราคาหุ้นที่มีความสำคัญกับปริมาณซื้อขายหุ้น
ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์
การพิจารณาภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย
                1.ดัชนีราคาหุ้น - เพื่อดูแนวโน้มของราคาหุ้นและการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น
                2.ปริมาณการซื้อขาย - เพื่อแสดงภาวะที่มีผู้ลงทุนหนาแน่นหรือซบเซาที่กระทบกับปริมาณซื้อขาย
                3.จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดสูงขึ้น-ลดลงหรือเท่าเดิมซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดหลักทรัพย์
การพิจารณาคุณภาพหุ้น
                -ราคา พิจารณาจำนวนเงินที่ลงทุนว่าเหมาะสมกับการซื้อขายหุ้นหรือไม่
                -ราคาปิดต่อราคาหุ้นเพื่อพิจารณาว่าจะใช้เวลากี่ปีในการที่กำไรต่อหุ้นจะรวมกันมีค่าเท่ากับราคาปิดของหุ้นนั้น
                -อัตราเงินปันผลตอบแทน แสดงถึงคุณภาพของหุ้นในการให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล
                -ปริมาณการซื้อขาย สภาพคล่องของหุ้นที่มีผลต่อปริมาณซื้อขายหลักทรัพย์
                -การพิจารณาหุ้นในเชิงธุรกิจการเงิน การวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโต ความมั่นคงเข้มแข็งเชิงทางการเงินของหุ้นที่จะลงทุน
ขั้นตอนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
                1. วางแผนการลงทุน
                2. เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อใช้สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
                3. ติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ / โบรกเกอร์สมัครเป็นสมาชิกและขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (ใช้บัญชีเงินสด หรือ ใช้บัญชีมาร์จิน)
                4. ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (ห้องค้าหลักทรัพย์ ส่งทางโทรศัพท์ ส่งทางอินเทอร์เน็ต)

                5. การศึกษาหน่วยซื้อขาย ช่วงราคา ราคาซื้อขายสูงสุด / ต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของดัชนี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น