วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 4 การลงทุน( Investment )

หน่วยที่ 4 การลงทุน( Investment )
สาระสำคัญ
                บุคคลเมื่อมีรายได้เหลือจากการใช้จ่ายก็จะเก็บเงินออมส่วนหนึ่งไว้และมีทางเลือกที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์งอกเงยขึ้นจากการนำเงินออมไปลงทุนในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  การฝากธนาคาร  การซื้อพันธบัตร
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนซื้อหุ้นทุน การลงทุนที่ดีจะเกิดผลตอบแทน ขณะเดียวกันผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการสูญเสียเงินลงทุนหรือผลขาดทุนจากการลงทุนด้วยเสอมเราะไม่มีการลงทุนใดที่ไม่มีความเสี่ยง   ก่อนการตัดสินใจลงทุนจึงควรศึกษา  ข้อมูลและวางแผนลงทุนให้เหมาะสมว่าควรจะลงทุนด้วยตนเองหรือให้มืออาชีพ ไม่ว่าจะลงทุนใดผู้ลงทุนต้องตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเพื่อจะได้เกิดความเป็นธรรมและมีหน่วยงานที่ให้  การควบคุมดูแลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างมั่นคง
         -  การนำเงินออมมาแปรสภาพเป็นเงินลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามความคาดหวัง
         -  การใช้เงินออมหรือการนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือการนำหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ออกไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อให้เกิดกำไรในอนาคต
         -  การที่ผู้บริโภคนำเงินออมที่มีอยู่หรือเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาดำเนินกิจกรรมด้านธุรกิจเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภค
รูปแบบของการลงทุน
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ประจำ
        -  การฝากเงินกับธนาคาร (ดอกเบี้ย)
        -  การฝากเงินกับสถาบันการเงิน (ดอกเบี้ย)
        -  การซื้อพันธบัตร (ดอกเบี้ย)
        -  การซื้อสลากออมสิน (ถูกรางวัล)
        -  การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต (เงินปันผล)
        -  การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เงินปันผล)
        -  การซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม (เงินปันผล)
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ผันแปร
        -  การซื้อหุ้นสามัญ (เงินปันผลตามผลกำไร)
        -  การซื้ออสังหาริมทรัพย์อาคารชุด บ้าน ที่ดิน (กำไรจากการขายต่อ)
        -  การซื้อโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (การเก็งกำไร)
ประเภทของการลงทุน
การลงทุนทางด้านผู้บริโภค
       -  การลงทุนซื้อสินค้าและอสังหาริมทรัพย์ (มุ่งหวังกำไรและความพอใจในการใช้)
       -  การลงทุนทางธุรกิจ (มุ่งหวังผลกำไรในการดำเนินงาน)
       -  การลงทุนในหลักทรัพย์ (มุ่งหวังผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือเงินปันผล)
ประเภทของการลงทุน
       -  การลงทุนทางตรง (direct Investment) เจ้าของทุนใช้เงินของตนเองและรับผิดชอบดำเนินการด้วยตนเอง
       -  การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment)เจ้าของทุนเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือร่วมลงทุน          กับธุรกิจอื่นเป็นการลงทุนทางการเงิน
หลักการพิจารณาการลงทุน
       -  ความปลอดภัยของการลงทุน
       -  ผลตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมคุ้มค่า
       -  ความเสี่ยงหรือโอกาสเกิดความสูญเปล่าของการลงทุน
       -  สภาพคล่องหรือความสามารถเปลี่ยนเงินลงทุนเป็นเงินสดได้เร็ว
การศึกษาข้อมูลในการลงทุนบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือลงทุน (รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทจำกัด)
       -  ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและฐานะการเงิน
ผู้ให้บริการทางการเงิน (นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนหน่วยลงทุน)
       -  เป็นตัวกลางของการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ตลาดซื้อขายเครื่องมือลงทุน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย)
       -  เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ผู้กำกับดูแล (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต)
       -  เป็นองค์การที่ดูแลให้การลงทุนดำเนินการอย่างราบรื่นและเป็นธรรมการศึกษาข้อมูลลงทุน
แหล่งข้อมูลในการลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานควบคุมสถาบันการเงินเพื่อการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต)
        -  พัฒนา กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจจัดการลงทุน
        -  เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสำคัญของธุรกิจจัดการลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        -  ส่งเสริมการระดมเงินออมและการระดมเงินทุนภายในประเทศ
       -  เสริมสร้างสภาพคล่องและเสถียรภาพการซื้อขายหลักทรัพย์
       -  เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
สถาบันที่ให้คำแนะนำปรึกษาการลงทุน
       -  ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์
แหล่งข้อมูลภายในของบริษัท
       -  งบการเงิน รายงานประจำปี
แหล่งข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
       -  เพื่อน ญาติ นักลงทุน
การวางแผนลงทุน
การลงทุนด้วยตนเอง
    1.  กำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน
     -  ผลตอบแทนที่ต้องการ
     -  ระยะเวลาในการลงทุน
     -  ระดับความเสี่ยง
   2.  เลือกรูปแบบของการลงทุน
                การลงทุนรายใหญ่ - ตราสารหนี้
                การลงทุนรายย่อย
     -  เงินฝาก
     -  พันธบัตร
     -  ตั๋วสัญญาใช้เงิน
     -  หุ้น
     -  การทำประกันหุ้น
                การวางแผนลงทุน-การลงทุนด้วยตนเอง
    3.  กระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่หลากหลาย
    4.  หาช่องทางแก้ปัญหาหากไม่ได้รับความเป็นธรรมใน การลงทุน
    5.  เลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนหน่วยลงทุน
    6.  แสวงหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุนจากบุคคลที่ เกี่ยวข้อง และแหล่งข้อมูลต่างๆ
การวางแผนลงทุน
การลงทุนผ่านผู้บริหารเงิน
    -  การลงทุนผ่านกองทุนรวม
*เหมาะแก่ผู้ลงทุนมือใหม่ซึ่งไม่มีเวลาศึกษาข้อมูล ดูแล ติดตามการลงทุน
   -  พิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยง
   -  เลือกรูปแบบการลงทุน
การลงทุนรายใหญ่ - กองทุนรวมเฉพาะด้าน
การลงทุนรายย่อย - กองทุนรวม
    -  เลือกผู้บริหารเงิน
การมีใบอนุญาต + การคิดค่าธรรมเนียม
    -  ศึกษาสิทธิและหน้าที่ของผู้ลงทุน
สิทธิ การเรียกร้องสิทธิจากปัญหาที่เกิดจากการลงทุน
หน้าที่ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลในการลงทุนประเภทต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนและผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนได้รับ
    -  เกิดผลตอบแทนผลกำไรจากการลงทุน
    -  เกิดความมั่นคงทางการเงิน
    -  เกิดการออมเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนและผลประโยชน์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
    1.  เกิดผลกำไรจากการดำเนินงานทางธุรกิจ
    2.  ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
    3.  เกิดการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการลงทุน
    4.  เกิดความก้าวหน้า พัฒนาประเทศด้านต่างๆ (การคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา)

    5.  รายได้ประชาชาติ / ผลผลิตสุทธิของ ประเทศเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น